สื่อประชาสัมพันธ์ของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี)
-
VTR นำเสนอ รมว.ทส
-
ด้วยรักจากใจ สายใยผูกพัน VTR เกษียณอายุราชการ ประจำปีงบประมาณ 2564
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบบริหารจัดการด้าน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในท้องที่ป่าอนุรักษ์จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ ยโสธร อำนาจเจริญ และมุกดาหาร ในการบริหารจัดการดังกล่าวคงไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงบรรลุตามวัตถุประสงค์ได้ หากขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานให้กิจกรรมต่างๆ ผ่านไปด้วยดี
และในปีงบประมาณ 2564 นี้มีบุคลกรในสังกัดที่มุมานะ บากบั่น และฝ่าฟันอุปสรรคในการทำงานตั้งแต่
เริ่มรับราชการจนถึงวันเกษียณอายุราชการได้อย่างภาคภูมิใจ จำนวนทั้งสิ้น 33 นาย -
สรุปผลการปฏิบัติงาน ผอ.สบอ.9 ประจำปีงบประมาณ 2564
สรุปผลการปฏิบัติงาน นายพุทธพจน์ คูประสิทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 -
ตรวจสอบลายเสือ
-
ตรวจ DNA เสือ
-
ชิงเก็บ ลดเผา
“ชิงเก็บ ลดเผา”ทำ “ก้อนฟาง”
การป้องกันไฟป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ แปลงปลูกป่า แปลงฟื้นฟู หรือแปลงปลูกบำรุง เดิมมีแนวทางการดำเนินการดังนี้
1. การไถกลบ
2. การเก็บลิด สุมเผา
3. การเผาตามกำหนดหรือการชิงเผา
4. การดายวัชพืช
5. การทำแนวกันไฟ
แต่วิธีการเก็บลิด สุมเผา การเผาตามกำหนด และการชิงเผา จะทำให้เกิดปัญหาหมอกควันจากไฟป่า และเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาฝุ่น PM. 2.5 ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน
ท่านวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทส. จึงเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้มีแนวคิดในการชิงเก็บเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่า และแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อเพลิง ที่เป็นแหล่งกำเนิดของไฟป่า และนำมาซึ่งหมอกควัน ทำให้เกิดโครงการ “ชิงเก็บ ลดเผา” ขึ้นมาในครั้งนี้
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) โดยนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) จึงได้จัดกิจกรรมวิธีการสาธิตการดำเนินการตามนโยบายของกระทรวง ทส. ”ชิงเก็บ ลดเผา” เพื่อให้หน่วยงานภาคสนามในสังกัดได้นำไปปฏิบัติให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ซึ่งมีการดำเนินการ ดังนี้
1 กำจัดวัชพืชที่มีความสูงสามารถตัดได้ โดยใช้เครื่องตัดหญ้า
2 ใช้คราดเกี่ยววัชพืชที่ได้จากการตัดมาไว้กลางร่อง และนำมาวางไว้เป็นแถวยาวในพื้นที่โล่ง เพื่อเตรียมพร้อมอัดเป็น”ก้อนฟาง”
3 ใช้รถอัดฟางก้อน ทำการอัดวัชพืชให้มีลักษณะเดียวกันกับ “ก้อนฟาง”
4 ใช้จาบถากรอบโคนต้นไม้ที่วัชพืชยังหลงเหลืออยู่จากการตัด ไว้กลางร่อง เพื่อให้ย่อยสลายไปเอง
ซึ่งวัชพืชที่ทำการอัดก้อนเรียบร้อยแล้วนั้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย อาทิ
1. ใช้ในการตกแต่งสถานที่จัดงานเลี้ยง
2. นำไปเป็นส่วนประกอบทำปุ้ยหมักชีวภาพ
3. นำไปเป็นวัสดุเพาะเห็ด
4. นำไปเป็นอาหารสัตว์
5. นำไปผลิตเป็นผลผลิตถ้วนชามอัดแจ็งย่อยสลายได้ … ฯลฯ
จากการสาธิตการ “ชิงเก็บ ลดเผา” ในพื้นที่แปลงปลูกบำรุงรักษาสวนป่า อายุ 2-6 ปี โดยดำเนินการในพื้นที่เนื้อที่ 80 ไร่ สามารถอัด “ก้อนฟาง” ได้จำนวน 160 ก้อน ขนาดความยาวก้อน 90 ซม.
ซึ่งหากทุกพื้นที่สามารถดำเนินการได้เช่นนี้ และสามารถหาแหล่งรับซื้อ หรือแหล่งที่จะนำไปใช้ประโชน์ต่อได้ คาดว่าการดำเนินการเช่นนี้ จะทำให้ลดปัญหาหมอกควันจากไฟป่า และฝุ่น PM 2.5 ลดลงได้
ทั้งนี้ การจ้างรถไถ่มาอัดก้อนวัชพืช ในพื้นที่ที่ทำการสาธิต เป็นการจ้างที่คิดราคาต่อจำนวนก้อนที่อัด และจะต้องมีจำนวนอย่างน้อย 100 ก้อน ถึงจะเข้าดำเนินการให้ ซึ่งแต่ละพื้นที่อาจมีเลทราคาที่แตกต่างกันไป -
สวมเสือ สวนเสือมุกดาหาร
-
โครงการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่ในการสนับสนุนปฏิบัติงานด้านการป้องกันรักษาป่า
โครงการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่ในการสนับสนุนปฏิบัติงานด้านการป้องกันรักษาป่า -
การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน ขสป.ห้วยศาลา
-
การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน อช.ภูสระดอกบัว
-
ความเป็นมาของการปลูกป่าอาเซียน
-
เกษียณอายุราชการ 2563
-
โครงการฝึกอบอรมเพื่อเพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่ในการสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านการป้องกันป่าไม้
-
คืนสัตว์สู่วนา เพื่อป่าอาเซี่ยน
วันที่ 11 สิงหาคม 63 นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผอ.สบอ.9 (อุบลฯ) ได้จัดโครงการจัดงานปลูกป่าอาเซียนแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ณ บริเวณป่าหนองใหญ่ พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร จ.ศรีสะเกษ โดยพื้นที่บริเวณชายแดนดังกล่าว มีหน่วยเฉพาะกิจที่ 1 กองกำลังสุรนารี ร่วมดูแลด้วย ซึ่งพื้นที่ยังไม่ได้มีการปักปันเขตแดนแต่อย่างใด แต่เป็นที่ทราบกันดี และเป็นที่ยอมรับของทั้ง 2 ประเทศว่า บริเวณจัดงานดังกล่าวเป็นแผ่นดินไทย อีกทั้ง มีพื้นที่บางส่วนบริเวณชายแดนของไทย(ซำแต) มีการถูกบุกรุก แผ้วถาง ทำให้นำมาซึ่งการจัดโครงการฯ ในวันนี้
โดยโครงการดังกล่าวฯ ได้รับเกียรติจากท่านรองสมหวัง เรืองนิวัติศัย รองอธิบดี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชาวบ้านในชุมชน เข้าร่วมโครงการ นำโดย
1 นายบุญเสริม บุญบำรุง รองผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจที่ 1
2 นายสำรวย เกษกุล รอง ผวจ.ศรีสะเกษ
3 นายสา แสงสว่าง ผอ.ทสจ.อุบลราชธานี
4 นายสมชัย บูรณะ นายอำเภอน้ำยืน
5 นักเรียน รร.บ้านภูซรอล
และตัวแทนจากราชอาณาจักรกัมพูชา นำโดยพลตรีจัน ดารุณ พร้อมด้วยผู้ติดตามจำนวน 9 คน ซึ่งแจ้งว่ามาในนามสื่อมวลชน
กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย
1) ปลูกป่า จำนวนกว่า 500 ต้น
2) ส่งสัตว์คืนวนา เพื่อป่าอาเซียนสมบูรณ์ โดยปล่อยสัตว์ป่า 5 ชนิด 143 ตัว ประกอบด้วย
- เก้ง 11 ตัว
- เนื้อทราย 12 ตัว
- นกยูง 10 ตัว
- กระจง 10 ตัว
- ไก่ป่า 100 ตัว
3) กิจกรรมวันพิทักษ์ป่าโลก World ranger day 31 กรกฎาคม
โดยการดำเนินงาน ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ทั้งชาวไทยและชาวกัมพูชา จะต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ดังนี้
1) สวมหน้ากาอนามัย
2) ตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้างาน โดยผู้ผ่านการคัดครองจะได้รับสัญลักษณ์แสดงการผ่านการคัดกรอง
3) ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ลงทะเบียนก่อนเข้าร่วมโครงการฯ
ทั้งนี้ หลังการดำเนินงานตามโครงการฯ เป็นที่เรียบร้อย สบอ.9 ได้มีการเคลียพื้นที่ มิให้มีสิ่งก่อสร้างใดๆ ในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว ด้วยว่าฝ่ายความมั่นคงของทั้ง 2 ประเทศ ได้ทำข้อตกลงกันไว้ก่อนแล้ว -
ยึดคืนที่ดิน