วันที่ 21 สิงหาคม 2567 เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการสำรวจทรัพยากรป่าไม้ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา ได้ร่วมกันวางแปลงสำรวจทรัพยากรป่าไม้แปลงที่ 6 พิกัด 419586 E 1596313 N (ระบบ Datum WGS 84) ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 481 เมตร เพื่อติดตั้งระบบติดตามการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรป่าไม้ และเพื่อประเมินสถานภาพเเละศักยภาพของทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา ท้องที่อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า เป็นป่าดิบแล้ง ยุบตัว มีจำนวนต้นไม้ทั้งหมด 100 ต้น ต้นที่มีความโตมากสุด คือ ตะแบกเส้นรอบวง 129.2 เซนติเมตร ต้นที่มีความสูงเด่นสุดในแปลง คือ ตะแบก และหว้า sp. สูง 36 เมตร ชนิดไม้ที่พบมากสุด ได้แก่ พลอง-กินลูก หว้า sp. ข่อยหนาม และพลองเหมือด ลูกไม้ กล้าไม้ และไม้พื้นล่างที่พบมากสุดในแปลง ได้แก่ กล้วยเต่า ข่อยหนาม สามพันตา และเถาว์คัน เปอร์เซ็นต์การปกคลุมเรือนยอด 70 % การสะสมของเศษไม้ใบไม้หนา 2-3 ซม. ทั้งนี้ มีปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานคือ พบทุ่นระเบิด ไม่ทราบชนิด จำนวน 4 ลูก ภายในแปลงจึงหยุดปฏิบัติภารกิจและออกจากพื้นที่ทันที