เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
วันที่ 24 เมษายน 2567 เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการสำรวจทรัพยากรป่าไม้ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน – ห้วยสำราญ ได้ร่วมกันวางแปลงสำรวจทรัพยากรป่าไม้แปลงที่ 8 พิกัด 334585E 1596313N (ระบบ Datum WGS 84) ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 244 เมตร เพื่อติดตั้งระบบติดตามการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรป่าไม้ และเพื่อประเมินสถานภาพเเละศักยภาพของทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน – ห้วยสำราญ ท้องที่อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ พบว่า เป็นป่าเบญจพรรณ 90% ป่าดิบแล้ง 10% มีจำนวนต้นไม้ทั้งหมด 86 ต้น ต้นที่มีความโตมากสุด คือ ทะยิง เส้นรอบวง 170.40 เซนติเมตร รองลงมา คือ ตะแบกเลือด เส้นรอบวง 167.90 เซนติเมตร ต้นที่มีความสูงมากสุดในแปลง คือ ประดู่ป่า สูง 32 เมตร ชนิดไม้ที่พบมากสุด ได้แก่ พลับพลา ตะแบก ตะแบกกราย ตะแบกเลือด และประดู่ป่า ลูกไม้ กล้าไม้ และไม้พื้นล่างที่พบมากสุดในแปลง ได้แก่ ลำดวน ปอขี้ตุ่น ตะแบกเลือด พีพวน และพลับพลา เปอร์เซ็นต์การปกคลุมเรือนยอด 75 % การสะสมของเศษไม้ใบไม้หนา 3-4 ซม. ปัญหาและอุปสรรค มีชันโรงบินตอมก่อกวนตลอดเวลา ทั้งนี้ การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย