โครงสร้างการบริหารงานและหน่วยงานในสังกัด
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 แบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงาน ออกเป็น 9 ส่วน 2 กลุ่มงาน และ 2 ศูนย์ปฏิบัติการ ดังนี้
1. ส่วนอำนวยการ
2. ส่วนอุทยานแห่งชาติ
3. ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า
4. ส่วนอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากร
5. ส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า
6. ส่วนฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์
7. ส่วนจัดการต้นน้ำ
8. ส่วนประสานงานโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ
9. ส่วนประสานงานด้านทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
10.กลุ่มงานวิชาการ
11.กลุ่มงานกฎหมาย
12.ศูนย์สารสนเทศและการสื่อสาร
1) ส่วนอำนวยการ มีหน้าที่ดังนี้
- งานสารบรรณส่วนกลางของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี)
- งานด้านการเงินและการบัญชีของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี)
- งานด้านบุคลากรของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี)
- งานด้านนโยบายและแผนของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี)
- งานอาคารสถานที่และการสื่อสารของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี)
- งานด้านการพัสดุ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี)
- งานอื่น ๆ ตามที่ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 มอบหมาย
2) ส่วนประสานโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ มีหน้าที่ดังนี้
- งานแผนงานและงบประมาณ กำหนดแผนแม่บท แผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนในพื้นที่รับผิดชอบให้เกิดความสมบูรณ์ โดยยึดแนวทางตามแนวพระราชดำริ
- งานประสานความร่วมมือ ผลักดันแนวพระราชดำริและประสานกับทุกภาคส่วนเพื่อแก้ไขปัญหาของราษฎรในพื้นที่ เพื่อให้คนอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน
- งานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ จัดแสดงนิทรรศการ ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ แนวพระราชดำริ และถ่ายทอดองค์ความรู้ทุกรูปแบบ
- 4. ประสานงานและสนับสนุนการเตรียมการรับเสด็จฯ ในพื้นที่รับผิดชอบและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- งานฎีกา ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาการขอพระราชทานพระมหากรุณา การขอพระราชทานความเป็นธรรมและการขอพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่รับผิดชอบร่วมกับสำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง สำนักงาน ก.ป.ร. และหน่วยงานต่าง ๆ
- งานขยายผลดำเนินกิจกรรม/โครงการ ที่เกี่ยวข้องกับการสนองงานพระราชดำริ พัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนท้องถิ่นบนพื้นฐานการส่งเสริมการพัฒนาอาชีพด้านป่าไม้ เสริมสร้างการเรียนรู้ ขยายผล การดำเนินงานตามแนวพระราชดำริและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ชุมชน
- งานโครงการพิเศษ ประสานงานและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมโครงการศูนย์พัฒนาและบริการกสิกรรม-ป่าไม้ หนองเต่า บ้านโพนสิม เมืองไกรสอนพรหมวิหาร แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและโครงการพิเศษอื่น ๆ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ประสานและสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
3) ส่วนอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากร มีหน้าที่ดังนี้
- กำหนดแผนปฏิบัติงาน กำกับ ควบคุม ดูแลและประสานงานด้านการป้องกันและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
- ประสานการดำเนินการเกี่ยวกับคดีและของกลาง
- ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนอนุรักษ์ และป้องกันทรัพยากร สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี)
4) ส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า มีหน้าที่ดังนี้
- ศึกษา วิเคราะห์ กำหนดแผนปฏิบัติงาน กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน
- ศึกษา วิเคราะห์ กลยุทธ์ในการป้องกัน แก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน รวมทั้งเสริมสร้าง และพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านการควบคุมไฟป่าและหมอกควัน
- ดำเนินการศึกษา วิจัยความรู้ทางวิชาการและวิทยาการสมัยใหม่ควบคู่กับภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการป้องกัน แก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน
5) ส่วนฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์ มีหน้าที่ดังนี้
- กำหนดแผนปฏิบัติการรวมทั้งการกำกับ ควบคุม ดูแล และประสานงานด้านการปลูกป่า บำรุงดูแลรักษาสวนป่า การฟื้นฟูและพัฒนาระบบนิเวศในพื้นที่อนุรักษ์
- ศึกษา วิเคราะห์ และปฏิบัติงานเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่อนุรักษ์
- ดำเนินการด้านกิจกรรมชุมชนในพื้นที่อนุรักษ์ โดยสร้างจิตสำนึกและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
- ดำเนินการจัดทำปรับปรุง สำรวจ ตรวจสอบความถูกต้องของแผนที่พื้นที่ป่า สำรวจออกแบบ และจัดทำหลักเขต แนวเขตป่า และระวังชี้ตรวจสอบแปลงที่ดินที่ติดต่อ คาบเกี่ยว หรืออยู่ในพื้นที่อนุรักษ์
- ดำเนินการโครงการประชาคมเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ป่าไม้
- ดำเนินการโครงการพุทธอุทยานในพื้นที่ป่าอนุรักษ์
- ปฏิบัติงานร่วมหารือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
- ดำเนินงานด้านกิจกรรมหรือโครงการพิเศษอื่น ๆ ในพื้นที่อนุรักษ์
6) ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า มีหน้าที่ดังนี้
- สำรวจติดตามประชากร สถานภาพ และการกระจายของสัตว์ป่า เฝ้าระวังและป้องกันโรคติดต่อ ในสัตว์ป่า
- 2. วิเคราะห์และจำแนกสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสัตว์ป่า รวบรวมตัวอย่างสัตว์ป่า เก็บรักษาซากสัตว์ป่าของกลาง รวมทั้งการเคลื่อนย้ายและทำเครื่องหมายสัตว์ป่า
- รวบรวมระเบียบ หลักเกณฑ์ ประกาศและกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สัตว์ป่า
- กำกับ ดูแล ควบคุมและปฏิบัติงานด้านการอนุญาตเกี่ยวกับสัตว์ป่า
- ศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนาวิชาการด้านสัตว์ป่า ความหลากหลายทางชีวภาพรวมทั้งศึกษาผลกระทบต่อระบบนิเวศและสัตว์ป่า
- จัดทำ ควบคุม ดูแล และพัฒนาฐานข้อมูลสุขภาพสัตว์ป่า
- ตรวจรักษาให้คำแนะนำ ดูแลสุขภาพสัตว์ป่าของกลาง และสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้มีการแจ้งครอบครองถูกต้องตามกฎหมาย
- รับแจ้งเหตุและประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ป่า
- ฝ้าระวังและป้องกันโรคติดต่อในสัตว์ป่า
- ประสานงานในการจัดทำแผนการบริหารการจัดการพื้นที่ของหน่วยงานด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าให้เป็นไปตามหลักวิชาการ กฎหมาย และนโยบายที่ได้รับมอบหมาย
- ดำเนินการให้มีการสำรวจ จัดตั้ง ขยายหรือเพิกถอนพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าตามกฎหมาย
- พิจารณากลั่นกรองและเสนอความเห็นในการอนุญาตใช้ประโยชน์ในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า
- ประสานงานในด้านการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งกับประชาชนในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า
- ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาการเผยแพร่ การประชาสัมพันธ์ และสื่อความหมาย ด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า
- ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึก การมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์การต่าง ๆ เพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่า
- การจัดทำฐานข้อมูล บริการข้อมูลให้คำปรึกษา ตลอดจนจัดทำเอกสารเผยแพร่สื่อต่าง ๆ จัดนิทรรศการ และถ่ายทอดความรู้ด้านสัตว์ป่า
- พัฒนาบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า ให้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน
- วิเคราะห์และจัดทำแผนงบประมาณ ตลอดจนรวบรวมฐานข้อมูล สถิติการดำเนินงานและผลการดำเนินงานของส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า
- กำกับดูแลการดำเนินการตามพระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. 2558 มาตรา 6 ที่เกี่ยวข้องกับ การแจ้งครอบครองงาช้าง การโอนย้ายสถานที่ครอบครองงาช้าง การขออนุญาตแปรรูปผลิตภัณฑ์งาช้าง
- กำกับดูแลผู้ประกอบการร้านค้างาช้าง รับคำขออนุญาตค้างาช้าง ตรวจสอบคำอนุญาตและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ลงทะเบียนรับคำขออนุญาตและออกไปรับคำขออนุญาตออกใบอนุญาตจัดทำเครื่องหมายในกรณีที่ผู้ค้างาช้างร้องขอ รับแจ้งย้ายสถานที่ค้างาช้าง ตรวจสอบความเหมาะสมของสถานที่ ค้างาช้าง รับแจ้งกรณีผู้ค้างาช้างประสงค์จะเลิกค้างาช้าง
- จัดทำฐานข้อมูลทะเบียนผู้ครอบครองงาช้าง ผู้ค้างาช้าง และงาช้างของกลางตามกฎกระทรวง และประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ลงทะเบียนรับแจ้งการครอบครองงาช้างออกเอกสารรับแจ้งการครอบครอง ออกใบรับรองการครอบครอง รับแจ้งโอนการครอบครอง เปลี่ยนแปลงสถานที่ แปลสภาพหรือเปลี่ยนรูปร่างงาช้าง จัดทำเครื่องหมายงาช้าง
- ตรวจปราบปรามการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. 2558 โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการหาข่าวและปราบปรามการลักลอบค้างาช้างที่ผิดกฎหมาย และประสานงานสายตรวจผู้ประกอบการค้างาช้าง ในการจัดทำรายงานสรุปผลการตรวจสอบให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ทราบ
- เสริมสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานควบคุมการค้างาช้าง ผู้ประกอบการค้างาช้าง และประชาชนผู้สนใจ และจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
7) ส่วนอุทยานแห่งชาติ มีหน้าที่ดังนี้
- ตรวจสอบ ควบคุม กำกับ และดูแลการปฏิบัติงานของส่วนอุทยานแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน ให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติงาน และแผนการใช้จ่ายเงินตามที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กำหนด
- บริหารจัดการ และสนับสนุนการปฏิบัติงานเพื่อให้การดำเนินงานของส่วนอุทยานแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ และวนอุทยานในสังกัด เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
- ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
8) ส่วนจัดการต้นน้ำ มีหน้าที่ดังนี้
- สำรวจและประเมินทรัพยากรป่าไม้และสมรรถนะที่ดินป่าไม้ในพื้นที่ต้นน้ำ
- จัดทำสาระบบการใช้ที่ดินในพื้นที่ต้นน้ำ
- จัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์พื้นที่ต้นน้ำ
- กำหนดรูปแบบ เทคนิค และวิธีปฏิบัติในการจัดการ อนุรักษ์ ฟื้นฟู ดิน น้ำ และป่าไม้
- ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ข้อมูลและเตือนภัยพิบัติของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9
- ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาการบริหารจัดการ ฟื้นฟูระบบนิเวศความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ต้นน้ำ และพัฒนารูปแบบการอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำแบบบูรณาการ
- ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์การจัดการต้นน้ำ ความวิกฤตของลุ่มน้ำ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของต้นน้ำ และจากการใช้พื้นที่ต้นน้ำตลอดจนหาวิธีป้องกันและแก้ไข หรือลดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น
- สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม และทัศนคติของชุมชนต้นน้ำ
- กำหนดรูปแบบ เทคนิคและวิธีปฏิบัติ ของการมีส่วนร่วม และเครือข่ายในการส่งเสริมชุมชนต้นน้ำ เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อลดมลพิษ โดยการสร้างพื้นฐานและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนต้นน้ำ
- กำหนดรูปแบบ เทคนิคและวิธีปฏิบัติในการถ่ายทอดความรู้ เพื่อสร้างจิตสำนึกและประชาสัมพันธ์ให้กับชุมชนต้นน้ำ
- ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย พัฒนารูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน ลักษณะภูมิปัญญาพื้นบ้าน การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และการจัดการต้นน้ำของชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและลดปัญหาข้อขัดแย้ง ของชุมชน
- ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ ถ่ายทอดความรู้ และให้บริการงานด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และจัดการพื้นที่ต้นน้ำ
9) ส่วนประสานความร่วมมือด้านทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า มีหน้าที่ดังนี้
- ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันด้านมาตรการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง อุปสรรคด้านทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
- สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
- ส่งเสริมให้ความรู้ชุมชนท้องถิ่นในการดูแลรักษาหวงแหนทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
- สร้างแนวร่วมและเครือข่ายในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า โครงการราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) หมู่บ้านพิทักษ์ป่ารักษาสิ่งแวดล้อม (อส.อส.) เรดด์พลัส
10) กลุ่มงานวิชาการ มีหน้าที่ดังนี้
- ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งพรรณไม้ เห็ดรา สัตว์ป่า และแมลง ที่อยู่ ในพื้นที่อนุรักษ์ และพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง
- บริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพแบบบูรณาการกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ไม้ ทั้งในและนอกถิ่นอาศัย เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรหลากหลาย ทางชีวภาพที่สำคัญ
- ดำเนินโครงการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้เป็นไปตามแผนงาน ที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กำหนด
- ดำเนินการกิจกรรมนำร่องพัฒนาชุมชนในพื้นที่คุ้มครอง ในการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน และเพิ่มพื้นที่ป่าในการกักเก็บคาร์บอนด้วยกลไกเรดด์พลัส
- ดำเนินกิจกรรมเตรียมความพร้อม และเสริมความแข็งแกร่ง และพัฒนาเทคนิคการดำเนินกิจกรรมกลไกเรดด์พลัส
- ดำเนินกิจกรรมสำรวจ ศึกษาและประเมินการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ และการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่า
11) กลุ่มงานกฎหมาย มีหน้าที่ดังนี้
- ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการป่าไม้
- ดำเนินการพิจารณาวินิจฉัย ตอบปัญหาข้อกฎหมายและระเบียบของทางราชการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9
- ดำเนินการเกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งและทางอาญา งานคดีปกครอง และงานคดีอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9
12) ศูนย์สารสนเทศและการสื่อสาร มีหน้าที่ดังนี้
- พัฒนาฐานข้อมูลเพื่อบริหารจัดการ (MIS) จัดทำเว็บไซต์หน่วยงาน ปรับปรุงข้อมูลข่าวสาร ข่าวสารทางหนังสือพิมพ์และอินเตอร์เน็ตแจ้งเวียนให้แต่ละหน่วยงานในสังกัดทราบ
- พัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) โดยการสำรวจ รวบรวม วิเคราะห์ และประมวลผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการต่าง ๆ และให้บริการจัดทำแผนที่กับหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัด
- ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ ส่งเสริม และพัฒนาทักษะ โดยการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์รูปแบบต่าง ๆ จัดนิทรรศการ อบรม แนะนำ และถ่ายทอดความรู้แก่ข้าราชการและพนักงานที่ปฏิบัติงาน ให้มีความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องมือสารสนเทศต่าง ๆ