ankara escort
Select Page

งานวิจัยในป่าอนุรักษ์ “พฤกษเคมีของพรรณพืชวงศ์บุกบอนในป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่” 

 ปัจจุบันมนุษย์เผชิญกับภาวะความไม่สมดุล อันเนื่องมาจากมลพิษจากสภาพแวดล้อม โภชนาการที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ขาดการออกกำลังกาย รวมไปถึงความเครียดในการดำเนินชีวิต เป็นสาเหตุให้เกิดอนุมูลอิสระเพิ่มมากขึ้นในร่างกาย ส่งผลต่อกระบวนการเกิดโรค โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมและความบกพร่องของเซลล์ประสาท และระบบสื่อประสาทในสมอง ภาวะขาดเลือดของอวัยวะที่สำคัญ คือ หัวใจ และสมอง แต่การบริโภคยาสังเคราะห์จากสารเคมีกลับมีความปลอดภัยและมีฤทธิ์ทางชีวภาพน้อย จึงไม่สามารถรักษาโรคได้ ขณะที่พืชและสมุนไพรเป็นแหล่งสารพฤกษเคมี (phytochemistry) ซึ่งสามารถออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยสารประกอบในพืชมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ และต้านการกลายพันธุ์ การศึกษาองค์ประกอบทางพฤกษเคมีของพืชและพืชสมุนไพรจึงมีความสำคัญให้ประโยชน์ในการรักษาโรค และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับพืชและพืชสมุนไพร

                   พืชวงศ์บุกบอน (Araceae) เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ทั่วโลกมีประมาณ 105 สกุล 3,250 ชนิด ส่วนใหญ่พบในเขตร้อนและบางพื้นที่ของเขตอบอุ่น ในประเทศไทยพบพืชวงศ์บุกบอนมากถึง 30 สกุล 210 ชนิด โดย 78 ชนิด (>36%) เป็นพืชถิ่นเดียวของประเทศไทย และหลายชนิดมีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรค ดังนั้นเพื่อเป็นการต่อยอดองค์ความรู้จากการสำรวจความหลากชนิดของพืชวงศ์บุก-บอน ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จึงได้ศึกษาชนิดขององค์ประกอบทางพฤกษเคมีของพืชวงศ์บุก-บอน ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการนำความหลากหลายทางชีวภาพมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และอาจสามารถนำมาพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ต่อไป

รศ.ดร.ดวงใจ ศุขเฉลิม คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะ จึงได้ศึกษาชนิดขององค์ประกอบทางพฤกษเคมี ได้แก่ ได้แก่ alkaloids, phenolics, triterpenes และ steroids จากลำต้นใต้ดินของพืชวงศ์บุกบอน (Araceae) จำนวน 10 ชนิด ได้แก่ บอนน้ำ (𝘊𝘰𝘭𝘰𝘤𝘢𝘴𝘪𝘢 𝘦𝘴𝘤𝘶𝘭𝘦𝘯𝘵𝘢 (L.) Schott ว่านขันหมาก (𝘈𝘨𝘭𝘢𝘰𝘯𝘦𝘮𝘢 𝘴𝘪𝘮𝘱𝘭𝘦𝘹 (Blume) Blume เต่าเขียด (𝘏𝘰𝘮𝘢𝘭𝘰𝘮𝘦𝘯𝘢 𝘢𝘳𝘰𝘮𝘢𝘵𝘪𝘤 (Spreng.) Schott) แก้วหน้าม้า (𝘈𝘭𝘰𝘤𝘢𝘴𝘪𝘢 𝘭𝘰𝘯𝘨𝘪𝘭𝘰𝘣𝘢 Mig.) บุกแดง (𝘈𝘮𝘰𝘳𝘱𝘩𝘰𝘱𝘩𝘢𝘭𝘭𝘶𝘴 𝘱𝘶𝘵𝘪𝘪 Gagnep.) ผักหนาม (𝘓𝘢𝘴𝘪𝘢 𝘴𝘱𝘪𝘯𝘰𝘴𝘢 (L.) Thwaites) บุกคางคก (𝘈𝘮𝘰𝘳𝘱𝘩𝘰𝘱𝘩𝘢𝘭𝘭𝘶𝘴 𝘱𝘢𝘦𝘰𝘯𝘪𝘪𝘧𝘰𝘭𝘪𝘶𝘴 (Dennst.) Nicolson) กระเจาะ (𝘈𝘭𝘰𝘤𝘢𝘴𝘪𝘢 𝘢𝘤𝘶𝘮𝘪𝘯𝘢𝘵𝘢 Schott) บุกอีรอกเขา (𝘈𝘮𝘰𝘳𝘱𝘩𝘰𝘱𝘩𝘢𝘭𝘭𝘶𝘴 𝘣𝘳𝘦𝘷𝘪𝘴𝘱𝘢𝘵𝘩𝘶𝘴 Gagnep.) และบุกก้านยาว (𝘈𝘮𝘰𝘳𝘱𝘩𝘰𝘱𝘩𝘢𝘭𝘭𝘶𝘴 𝘢𝘴𝘵𝘦𝘳𝘰𝘴𝘵𝘪𝘨𝘮𝘢𝘵𝘶𝘴 Bogner & Hett.) ที่พบในผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่

                   พบสารพฤกษเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ คือ กลุ่ม alkaloids พบในบอนน้ำ ว่านขันหมาก ผักหนาม และบุกคางคก กลุ่ม phenolics พบ tannins และ flavonoids ชนิด leuco-anthocyanins และ catechins พบในพืชตัวอย่างเกือบทุกชนิด ยกเว้นกระเจาะ บุกก้านยาว และบุกอีรอกเขา ส่วน coumarin พบในแก้วหน้าม้า และบุกคางคก แต่ไม่พบ anthocyanin ในพืชตัวอย่างทุกชนิด ส่วนสารกลุ่ม terpenoids ชนิด triterpene พบในว่านขันหมาก ผักหนาม และบุกก้านยาว ชนิด diterpene พบในแก้วหน้าม้า บุกแดง กระเจาะ บุกก้านยาว และบุกอีรอกเขา กลุ่ม steroids ชนิด saponin พบในบอนน้ำ ว่านขันหมาก เต่าเขียด ผักหนาม และกระเจาะ ส่วนชนิด cardiac glycosides พบในว่านขันหมาก เต่าเขียด และผักหนาม

 ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ  

                   – ด้านวิชาการ ได้ทราบข้อมูลองค์ประกอบทางพฤกษเคมีของพืชวงศ์บุก-บอน ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ สำหรับนำไปพัฒนาในการใช้ประโยชน์

                   – ด้านการจัดการพื้นที่ สามารถนำข้อมูลไปเผยแพร่ต่อสังคมและชุมชนโดยรอบพื้นที่อนุรักษ์ เพื่อส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรในพื้นที่อนุรักษ์อย่างยั่งยืน เช่น การรักษาชนิดที่สำคัญ การเพาะขยายพันธุ์พืช และการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

                   รหัสโครงการ 5910810

                   โครงการวิจัย การศึกษาพืชวงศ์บุกบอน (Araceae) ในป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์

                   ผู้วิจัย ​รศ. ดร.ดวงใจ ศุขเฉลิม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

                   ผศ.สาวิตรี รุจิธนพาณิช มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร

                   นางสาวพรรณี เด่นรุ่งเรือง กรมป่าไม้

                   อ. ดร.เฉลียว เพชรทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

                   อ. ดร.สุธิดา มณีอเนกคุณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

                   นายทิวธวัฒ นาพิรุณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

                   นายมานพ ผู้พัฒน์ และนายครรชิต ศรีนพวรรณ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ที่มา : https://dnpnewswild.blogspot.com/2023/02/2-2566.html

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี)ได้ประกาศใช้แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ทั้งนี้ ท่านมั่นใจได้ว่าเราจะดูแลรักษาความปลอดภัยของข้อมูลของท่านเป็นอย่างดี นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save