วันที่ 25 ตุลาคม 2565 เวลา 8.30 น. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) ได้ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) ได้นำกำลังพลเจ้าหน้าที่ในสังกัดกว่า 50 นาย กระจายกำลังช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดอุบลราชธานี ดังนี้
ท้องที่จังหวัดศรีสะเกษ***
1. จัดเจ้าหน้าที่ช่วยประกอบอาหาร แพคข้าวกล่องพร้อมน้ำดื่ม ที่ได้รับสนับสนุนจากมูลนิธิเพชรเกษม ครัวลุงอู๊ด และเพจอีจัน เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับผู้ประสบภัยในท้องที่ ต. หนองแค, ต.หนองอึ่ง อ.ราษีไศล และ ต.บัวน้อย, ต.โนนสังข์ อ.กันทรารมย์ ต.กุง และ ต. หนองบัวดง อ.ศิลาลาด จ.ศรีสะเกษ และพื้นที่ประสบภัยอื่น ๆ จำนวนทั้งสิ้น 4,120 กล่อง
2. เฮลิคอปเตอร์กระทรวงทรัพยากรฯในการช่วยเหลือ/เคลื่อนย้ายผู้ป่วยทาง ฮ. สะสมจนถึงปัจจุบัน จำนวน 8 ราย (ในพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ 7 ราย และ จ. อุบลราชธานี 1 ราย) และสนับสนุนการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางเรือ จำนวน 5 ราย สนับสนุนการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยรถกู้ภัยอุทยานแห่งชาติไปยังโรงพยาบาล 6 ราย รวมทั้งสิ้น 19 ราย***
***ข้อมูลสถานการณ์ในจังหวัดศรีสะเกษ **
บริเวณ ต.บัวน้อย อ. กันทรารมย์, ต.หนองแค อ.ราษีไศล และ ต.กุง อ.ศิลาลาด จ. ศรีสะเกษ
ระดับแม่น้ำมูลเริ่มลดลง แต่ยังมีน้ำที่เอ่อล้นท่วมขังในพื้นที่เส้นทางสัญจรและหมู่บ้านเป้าหมาย ยังท่วมลักษณะเป็นเกาะน้ำล้อมรอบหมู่บ้าน ยังไม่สามารถสัญจรด้วยรถยนต์ได้ น้ำมีลักษณะเป็นสีโคลน สีเข้มเพราะน้ำเริ่มเน่าเสีย ปัญหาในการช่วยเหลือ ทางรถยนต์ ยังไม่สามารถทำได้ แม้น้ำจะลดลงก็ตาม
และทางเรือยังมีความยากลำบากเนื่องจากอยู่ห่างไกลกัน
ท้องที่จังหวัดอุบลราชธานี***
- เจ้าหน้าที่จำนวน 15 นาย พร้อมยานพาหนะและอุปกรณ์เครื่องมือทำความสะอาด เครื่องสูบน้ำ ช่วยทำความสะอาด เก็บกวาด ฟื้นฟู หลังน้ำลด ณ โรงเรียนบ้านเดื่อสะพานโดม หมู่ 12 ตำบลโพธิ์ไทร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นโรงเรียนระดับชั้นอนุบาล ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนรวม 64 คน
และได้เข้าทำความสะอาด สถานีอนามัยบ้านสร้างแก้ว หมู่ 8 ตำบลโพธิ์ไทร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานีโดยการดำเนินการฟื้นฟูโรงเรียนบ้านเดื่อสะพานโดม ยังไม่แล้วเสร็จ ได้นัดเพื่อดำเนินการต่อในวันพรุ่งนี้
- จัดชุดเจ้าหน้าที่ทีมกู้ภัยอุทยานฯ
สนับสนุนการนำส่งผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาล จำนวน 3 ราย ได้แก่1) นายปกป้อง บุญรมย์ อายุ 16 ปี ที่อยู่ 259/12 หมู่ 9 บ้านเหรียญทอง ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เพื่อเข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์2) นางวันเพ็ญ ภาคมฤค อายุ 55 ปี ที่อยู่ 201 หมู่ 17 บ้านคำแสนราชเหนือ ตำบลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี มีปัญหาแกนสมองเอียง เพื่อเข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ 3) นายประกอบ พุฒวงค์ อายุ 60 ปี ที่อยู่ 334 หมู่ 4 บ้านราษฎร์เจริญ ตำบลอ่างศิลา อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี มีอาการแขนขาอ่อนแรง เพื่อเข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
(ข้อมูลการสนับสนุนทางรถยนต์สะสม จำนวน 6 ราย)
3. บรรจุน้ำดื่ม ที่ สทบ.11 เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับผู้ประสบอุทกภัย
***ปัจจุบัน น้ำในหลายพื้นที่เริ่มลดระดับ ศูนย์ฯ จึงได้วางแผนในการเข้าฟื้นฟูพื้นที่ภายหลังน้ำท่วม โดย เฉพาะโรงเรียนและวัดภายในชุมชน โดยดำเนินการสะสมรวม 7 แห่ง เป็นวัด/ที่พักสงฆ์ 5 แห่ง โรงเรียน 1 แห่ง (กำลังดำเนินการ 1แห่ง) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง สถานีอนามัย 1 แห่ง
หลายพื้นที่แม้น้ำจะลดระดับ แต่ยังมีระดับน้ำท่วมขัง บางแห่งเส้นทางเข้ามีน้ำท่วม ไม่สามารถเข้าดำเนินการฟื้นฟูได้ คาดว่าต้องรออีกประมาณ 1 อาทิตย์ระดับน้ำลดลงจึงจะสามารถเข้าฟื้นฟูได้
โดยระดับน้ำมูลลดลงประมาณ 12 ซม. คาดการณ์จะเข้าสู่ระดับปกติ ประมาณกลางเดือน พฤศจิกายน 2565
ศูนย์อำนวยการและประสานงานให้ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอุทกภัย กระทรวงทรัพยากรฯ ได้รับการสนับสนุนจาก
- กองการบิน ทส
- หน่วยงานในสังกัด ทส (ทส.หนึ่งเดียว)
- มูลนิธิเพชรเกษม
- โรงครัวลุงอู๊ด เพจอีจัน
- ถุงยังชีพกับน้ำดื่มได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิกองทัพธรรมโดยชุมชนศีรษะอโศก คณะสงฆ์จังหวัดศรีสะเกษ นำโดยท่านเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย องค์กร บริษัท ห้างร้านและบุคคลผู้ไม่ประสงค์ออกนาม ฯลฯ
- บริษัท เอเชี่ยน อะไลอันซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) AAI ร่วมกับ มูลนิธิสมศักดิ์ อมรรัตนชัยกุล สนับสนุนข้าวสาร อาหารแห้งและน้ำดื่ม
- สมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถุงยังชีพ จำนวน 200 ชุด
– มูลนิธิเพชรเกษมสนับสนุนค่าน้ำมันเชื้อเพลิงเฮลิคอปเตอร์ในการช่วยเหลือผู้ป่วย และส่งเสบียงในจุดที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ จำนวน 200,000 บาท
– เพจอีจัน บริจาคสมทบทุนช่วยเหลือน้ำท่วม รวมเป็น 135,230 บาท โดยข้าวสารอาหารแห้งถุงยังชีพที่ได้นำไปแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัย รวมถึงนักเรียนในโรงเรียนและศุนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในท้องที่จ.ศรีสะเกษ และ จ.อุบลราชธานี และบางส่วนนำไปใช้ในการประกอบอาหารสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัย จัดซื้ออุปกรณ์สำหรับทำความสะอาด ฟื้นฟู วัดและโรงเรียนภายหลังน้ำลด เช่น ไม้กวาด จอบ พลั่ว แปรงขัด น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาล้างพื้น ถุงขยะ เป็นต้น
























