ระหว่างวันที่ 20-22 เมษายน 2565
นางสาวณัฐกานต์ คำสีม่วง นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ประจำโครงการวิจัย การติดตามละมั่งฯ ปฏิบัติงานติดตามละมั่งหลังการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก ประจำเดือนเมษายน 2565
ผลการปฏิบัติงาน
- จากการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่า (camera trap) ไม่สามารถบันทึกภาพละมั่งได้
- พบร่องรอยละมั่งใช้พื้นที่หากินร่วมกับ เนื้อทราย กวางป่า เก้ง เม่นใหญ่ หมาไม้ กระต่ายป่า หมูป่า อีเห็นธรรมดา และหมาจิ้งจอก
- พบการปรากฏของละมั่งด้วยการสังเกตพบตัวโดยตรง เป็นละมั่งเพศเมีย ตัวเต็มวัย 1 ตัว มีเครื่องหมายที่ใบหู (ear tag) บริเวณแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ใกล้กับฐานทหารพราน
- สำหรับแปลงพืชอาหาร ไม่พบการเลือกกินพืชอาหารในแปลง
- ในแปลงศึกษาประชากรละมั่งด้วยวิธีนับกองมูล พบกองมูลและรอยตีนละมั่งน้อยมาก สันนิษฐานว่าละมั่ง เลือกใช้พื้นที่บริเวณแนวชายแดนมากขึ้น เนื่องจากหญ้าระบัด และห่างไกลจากกิจกรรมมนุษย์
- พบการปรากฏของปัจจัยคุกคาม ได้แก่ หมาจิ้งจอก หมาใน หมาบ้าน และกิจกรรมการก่อสร้างอาคารในพื้นที่







นายธีระยุทธ วงศ์ไพเสริฐ
ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า
รายงาน