ankara escort
Select Page

เรียนรู้จากข่าว!! เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหล การปฏิบัติการเพื่อขจัดคราบน้ำมันให้เร็วที่สุด จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ ใครมีหน้าที่รับผิดชอบด้านใดบ้าง?

รู้ไว้ใช่ว่า!! เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหล การปฏิบัติการเพื่อขจัดคราบน้ำมันให้เร็วที่สุด จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ การเตรียมการเพื่อรองรับสถานการณ์น้ำมันรั่วไหล จึงเป็นสิ่งจําเป็นอย่างมาก 
                 สําหรับประเทศไทยได้มีการจัดทําแผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันแห่งชาติ เพื่อให้การขจัดคราบน้ำมันดําเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นแผนระดับชาติในการกําหนดภารกิจ หน้าที่ความรับผิดชอบ แนวทางการปฏิบัติขององค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยร่วมมือกัน ในการขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันในน่านน้ำไทย

                 แผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันแห่งชาติ จัดทำขึ้นในปี 2545 เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติและความรับผิดชอบทั้งรัฐและเอกชน ในการขจัดมลพิษทางน้ำ และยกระดับเหตุน้ำมันรั่วในน่านน้ำ ให้เป็นเหตุการณ์รุนแรงระดับชาติ เพราะสร้างความเสียหายต่อทรัพยากรและประชาชน ตามแผนได้กำหนดให้ คณะกรรมการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน เป็นผู้สั่งการสูงสุด มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน โดยแบ่งโครงสร้างหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

1. คณะกรรมการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน เป็นหน่วยงานสั่งการหลัก2. กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม / กรมโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม / กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดตั้งศูนย์ประสานงาน 3. กองทัพเรือ / กรมเจ้าท่า จัดตั้งศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการ4. กองทัพเรือ / กรมเจ้าท่า / ส่วนราชการจังหวัด / กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมัน ทำหน้าที่หน่วยปฏิบัติการ5. กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยสนับสนุน 
                  ทั้งนี้ กรมควบคุมมลพิษ เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องในส่วนของหน่วยงานสนับสนุน ในการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน มีหน้าที่ให้การสนับสนุนข้อมูลทางด้านวิชาการ ที่เกี่ยวข้องในด้านต่างๆ ดังนี้                  

 – พัฒนาและปรับปรุงฐานข้อมูลทรัพยากรชายฝั่งและจัดเก็บในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS)                  

 – ศึกษาองค์ประกอบของไฮโดรคาร์บอนของน้ำมัน เพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาของน้ำมันที่รั่วไหลและ ใช้ในการพิสูจน์หาแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษน้ำมันในแหล่งน้ํา                

  – ดูแลและกํากับการใช้สารเคมีขจัดคราบน้ำมัน                  

 – จัดทําแผนฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและเสนอให้มีคณะอนุกรรมการฟื้นฟูและประเมินค่าวามเสียหาย อันเนื่องมาจากน้ำมัน                

  – สนับสนุนข้อมูลและหลักฐานอันเป็นประโยชน์ในการเรียกร้องค่าเสียหายและดําเนินการทาง กฎหมายกับผู้ก่อให้เกิดมลพิษจากน้ำมัน                   

– คาดการณ์แนวทางการเคลื่อนที่ของคราบน้ำมันโดยใช้แบบจําลองทางคณิตศาสตร์ (oil map) ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสภาพของน้ำมันเชิงพื้นที่และเวลาในอ่าวไทยตอนบนและชายฝั่งทะเล ด้านตะวันออกโดยใช้ร่วมกับข้อมูลความถี่ของบริเวณที่เกิดเหตุน้ำมันรั่วไหลโดยแบ่งออกเป็น 3 เขต ได้แก่ เขตที่ 1 มีความเสียงสูงมาก เขตที่ 2 มีความเสี่ยงสูง และเขตที่ 3 มีความเสี่ยงปานกลาง

ข่าวประชาสัมพันธ์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช – 2 ก.พ.2565

ข้อมูล :  TOP Varawut – ท็อป วราวุธ ศิลปอาชา

ภาพ : สบอ.2 (ศรีราชา)

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี)ได้ประกาศใช้แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ทั้งนี้ ท่านมั่นใจได้ว่าเราจะดูแลรักษาความปลอดภัยของข้อมูลของท่านเป็นอย่างดี นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save