ankara escort
Select Page

เปิด 15 พื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ จากการสำรวจพบว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศทั้งหมด 15 พื้นที่ชุ่มน้ำ

15 พื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar Sites)

ตามเกณฑ์การพิจารณาพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ ทั้ง 9 เกณฑ์ เมื่อได้นำมาพิจารณาพื้นที่ชุ่มน้ำในไทยแล้ว พบว่าประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศทั้งหมด 15 พื้นที่ชุ่มน้ำด้วยกัน ดังนี้

—————————

1. พรุควนขี้เสี้ยน

ลำดับที่ 948 (13 กันยายน 2541)
จังหวัด พัทลุง ตั้งบริเวณตอนเหนือ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยเป็นป่าพรุมีน้ำท่วมขังเป็นแหล่งทำรังวางไข่ของนกกาบบัว ที่พบได้ที่นี่เพียงที่เดียว (เกณฑ์ 1, 2, 3)

—————————

2. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง

ลำดับที่ 1098 (5 กรกฎาคม 2544)
จังหวัด บึงกาฬ บึงน้ำจืดขนาดใหญ่ เป็นแหล่งพักพิงของนกอพยพในฤดูหนาวไม่น้อยกว่า 33 ชนิด และพบนกมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ในประเทศไทย คือ เป็ดดำหัวดำ (เกณฑ์ 2, 4, 7, 8)

—————————

3. ดอนหอยหลอด

ลำดับท่ี 1099 (5 กรกฎาคม 2544)
จังหวัดสมุทรสงคราม พื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งทะเลที่หายาก หาดเลนเป็นที่อาศัยของหอยหลอดมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ (เกณฑ์ 1, 2)

—————————

4. ปากแม่น้ำกระบี่

ลำดับที่ 1100 (5 กรกฎาคม 2544)
จังหวัด กระบี่ ผืนป่าชายเลนที่สมบูรณ์ขึ้นหนาแน่น มีความหลากหลายของชนิดพันธุ์นกที่ใกล้สูญพันธุ์ระดับโลกรวมทั้งถิ่นอาศัยของพะยูนซึ่งเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งของประเทศไทย (เกณฑ์ 1, 2, 3, 4)

—————————

5. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย

ลำดับที่ 1101 (5 กรกฎาคม 2544)
จังหวัด เชียงราย บึงน้ำจืดขนาดเล็กแหล่งอาศัยนกอพยพอย่างน้อย 121 ชนิด และนกชนิดพันธุ์หายากซึ่งอยู่ในสถานภาพถูกคุกคามระดับโลก (เกณฑ์ 2, 3, 4)

—————————

6. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ (พรุโต๊ะแดง)

ลำดับที่ 1102 (5 กรกฎาคม 2544)
จังหวัด นราธิวาส เป็นป่าพรุดั้งเดิมผืนใหญ่ที่สุดของไทยที่คงเหลืออยู่พบพันธุ์ไม้เฉพาะถิ่นอย่างน้อย 50 ชนิด และสัตว์ที่มีสถานภาพถูกคุกคาม เช่น นกตะกรุม นกเปล้าใหญ่ เป็นต้น (เกณฑ์ 1, 2, 3)

—————————

7. อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง – ปากแม่น้ำตรัง

ลำดับที่ 1182 (14 สิงหาคม 2545)
จังหวัด ตรัง เป็นถิ่นอาศัยของชนิดพันธุ์ที่หายากและอยู่ในสภาพถูกคุกคาม เช่น นกซ่อมทะเลอกแดง นกฟินฟุต และพะยูน เป็นที่พักของนกอพยพจากแอฟริกา คือ นกหัวโตกินปู ซึ่งในหนึ่งปีอาจพบได้เพียงไม่กี่ครั้ง (เกณฑ์ 1, 2, 3, 8)

—————————

8. อุทยานแห่งชาติแหลมสน – ปากแม่น้ำกระบุรี – ปากคลองกะเปอร์

ลำดับที่ 1183 (14 สิงหาคม 2545)
จังหวัด ระนอง มีระบบนิเวศหลากหลาย เป็นพื้นที่ป่าชายเลนแห่งแรกของโลก (เกณฑ์ 1, 2, 3, 8)

—————————

9. อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง

ลำดับที่ 1184 (14 สิงหาคม 2545)
จังหวัด สุราษฎร์ธานี มีเกาะขนาดเล็ก – ใหญ่ ประมาณ 42 เกาะ เป็นแหล่งพักพิงของปลาในวัยเจริญพันธุ์ และวัยอ่อนของปลาเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น ปลาทู ปลารัง ปลาเก๋า เป็นต้น และ เป็นแหล่งปะการังที่งดงามที่สุดของไทย (เกณฑ์ 1, 2, 3)

—————————

10. อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา

ลำดับที่ 1185 (14 สิงหาคม 2545)
จังหวัด พังงาเป็นอ่าวตื้น ล้อมลอบด้วยป่าชายเลน และเป็นที่อาศัยของพะยูนซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวน

—————————

11. อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด

ลำดับที่ 2238 (14 มกราคม 2551)
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ตั้งอยู่เชิงเขาของเทือกเขาสามร้อยยอดเป็นแหล่งพักพิงและสร้างรังวางไข่ของนกอพยพและเป็นแหล่งอาศัยที่สำคัญของเสือปลาที่ใหญ่ที่สุดในไทยซึ่งมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (เกณฑ์ 1, 2, 3)

—————————

12. กุดทิง

ลำดับที่ 1926 (19 มิถุนายน 2552)
จังหวัด บึงกาฬ มีลักษณะเป็นกุดมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง พบพันธุ์ปลาเฉพาะถิ่นและเป็นแหล่งพักพิงของนกอพยพที่มีสถานภาพทุกคุกคามระดับโลกคือเป็ดดำหัวดำ (เกณฑ์ 1, 2, 3, 4, 7, 8)

—————————

13. เกาะกระ

ลำดับที่ 2152 (12 สิงหาคม 2556)
จังหวัด นครศรีธรรมราช เป็นเกาะขนาดเล็กบริเวณอ่าวไทยเป็นแหล่งปะการังหายากและแหล่งวางไข่ที่สำคัญของต่อตนุและต่อมะเฟือง (เกณฑ์ 2, 3, 4)

—————————

14. หมู่เกาะระ – เกาะพระทอง

ลำดับที่ 2153 (12 สิงหาคม 2556)
จังหวัด พังงา มีความหลากหลายของระบบนิเวศเป็นถิ่นอาศัยของเต่าทะเลและนกตะกรุมซึ่งเป็นชนิดพันธุ์หายากและใกล้สูญพันธุ์

—————————

15. แม่น้ำสงครามตอนล่าง

ลำดับที่ 2420 (15 พฤษภาคม 1562)
จังหวัดนครพนม มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีป่าบุ่งป่าทามผืนใหญ่ที่สำคัญยังคงเหลืออยู่ในภาคอีสาน พบสัตว์ที่อยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งคือ ปลาบึก ปลาตองลาย ปลายี่สก (เกณฑ์ 1, 2, 3, 4, 7, 8)

—————————

ข่าวประชาสัมพันธ์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช – 24 ม.ค.2564
ข้อมูล  :   สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานฯ

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี)ได้ประกาศใช้แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ทั้งนี้ ท่านมั่นใจได้ว่าเราจะดูแลรักษาความปลอดภัยของข้อมูลของท่านเป็นอย่างดี นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save