ankara escort
Select Page

บทบาทประเทศไทย ในเวทีการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชีย ด้านอนุรักษ์เสือโคร่ง ครั้งที่ 4

ภาพข่าว : http://news.dnp.go.th/news/12263

“เสือ” เป็นสัตว์ที่อยู่ในตำแหน่งบนสุดของห่วงโซ่อาหาร เรียงลำดับความสัมพันธ์ในวงจรชีวิตของ สัตว์ป่าแสดงตำแหน่งการเป็นผู้ล่าอันดับแรกของห่วงโซ่อาหารของเหล่าบรรดาสัตว์น้อยใหญ่ ดังนั้น ผืนป่าแห่งไหนยังมีเสือนั่นหมายถึงป่านั้นยังมีความอุดมสมบูรณ์ เพราะยังมีอาหารให้เสือสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่จากการเจริญเติบโตของสังคมมนุษย์ทั่วโลกการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ การเพิ่มพื้นที่ทำกินด้วยการบุกรุกพื้นที่ป่าธรรมชาติเพื่อทำการเกษตรหรือกิจกรรมอื่น เป็นการทำให้อัตราการลดลงของสัตว์ป่าน้อยใหญ่

รวมถึงจำนวนของสัตว์ป่าขนาดใหญ่ที่เป็นอาหารของเสือโคร่ง ส่งผลกระทบให้จำนวนเสือโคร่งลดลงอย่างรวดเร็ว จากการประมาณ ใน ค.ศ. 2015 คาดว่าประชากรเสือโคร่งทั่วโลกเหลือเพียง 3,062 ถึง 3,948 ตัว ใน 13 ประเทศ ที่มีเสือโคร่งอาศัยอยู่ ได้แก่ 1.อินเดีย 2.ภูฏาน 3.บังคลาเทศ 4.รัสเซีย 5.เนปาล 6.จีน 7.อินโดนีเซีย (สุมาตรา) 8.ลาว 9.มาเลเซีย 10.พม่า 11.กัมพูชา 12.มาเลเซีย และ 13.ประเทศไทย ปัจจุบันอินเดียเป็นประเทศที่มีประชากรเสือโคร่งมากที่สุด

ในส่วนประเทศไทยได้วางแผนการดำเนินการอนุรักษ์เสือโคร่งในอนาคต ไว้ดังนี้ Action 1 Strengthen transboundary collaboration on the management and conservation of
tiger and their habitat. เพิ่มศักยภาพการให้ความร่วมมือระหว่างพรหมแดนสำหรับการจัดการและการอนุรักษ์เสือโคร่งและถิ่นอาศัยของเสือโคร่ง Action 2 Promote transboundary collaboration on the combating of wildlife trafficking. ส่งเสริมการร่วมมือระหว่างพรหมแดนสำหรับการป้องกันการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย Action 3 Improvement capacity of the Regional Tiger Conservation Training Center. เพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่ด้วยการส่งเสริมการฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์เสือโคร่งระดับภูมิภาค

การประชุมรัฐมนตรีประเทศเอเชียด้านการอนุรักษ์เสือโคร่ง ครั้งที่ 4 The 4th AMC on Tiger Conservation ที่จัดขึ้น ณ ประเทศมาเลเซีย ครั้งนี้ คาดว่าประเทศไทยจะได้รับการยอมรับในการเป็นผู้นำกลุ่มประเทศในเอเชีย ที่ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการอนุรักษ์เสือโคร่งและสัตว์ป่าชนิดอื่นที่ใกล้สูญพันธุ์ของโลก ได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษาวิจัยและการอนุรักษ์เสือโคร่งร่วมกับนักอนุรักษ์ระดับโลก การเป็นสมาชิกเครือข่ายการอนุรักษ์ระดับโลก ในการป้องกันการลักลอบล่าและการค้าเสือโคร่งและสัตว์ป่าชนิดอื่นที่ผิดกฎหมาย ได้มีแผนการอนุรักษ์และฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งที่มีมาตรฐานระดับสากล ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งและสัตว์ป่าที่สำคัญชนิดอื่น จากกองทุนและองค์กรอนุรักษ์ระดับโลก การเป็นศูนย์กลางในการวิจัยการสร้างระบบติดตามประเมินประชากรเสือโคร่ง และการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์และวิจัยเสือโคร่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออก

flash=0 integtime=200 Vg=50 D1=128 D2=32 flashCrossoverCdS=200.00 PYDCrossoverCdS= 7.50 flashDetectCdS=1.0000 derivativeClipNormal=6 derivativeClipBright=18 chargeFlashTarget=260.00 delayBetweenImagesFlash=8 delayBetweenImagesDaylight= 0.30 holdOffTimeBetweenTriggers=2

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี)ได้ประกาศใช้แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ทั้งนี้ ท่านมั่นใจได้ว่าเราจะดูแลรักษาความปลอดภัยของข้อมูลของท่านเป็นอย่างดี นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save