ankara escort
Select Page

กรมอุทยานฯ รับมอบนโยบายยการดำเนินงานปี 2565 จาก รมว.ทส.เดินหน้าสู่เศรษฐกิจสีเขียว มุ่งเน้นเป็นปีแห่งการปรับตัวและฟื้นฟู สร้างเศรษฐกิจครัวเรือน และมุ่งสู่เศรษฐกิจรูปแบบใหม่คาร์บอนต่ำ

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แถลงผลงาน ปี ’64 พร้อมประกาศนโยบายปี ’65 เดินหน้าสู่เศรษฐกิจสีเขียว พร้อมทำบุญครบรอบ 19 ปี สถาปนากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม🌏 วันนี้ พวกเราชาวกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมพิธีวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ครบรอบ 19 ปี และประชุมมอบนโยบายการดำเนินงานปีงบประมาณ 2565 ให้กับผู้บริหารหน่วยงานสังกัด ทส.ทั่วประเทศ ในโอกาสนี้ ผมได้แถลงผลงานเด่น ปี 2564 พร้อมประกาศนโยบาย ปี 2565 มุ่งสร้างความมั่นคงฐานทรัพยากรธรรมชาติ สู่ความมั่งคั่งของชุมชน สร้างระบบเศรษฐกิจสีเขียว สร้างรายได้ให้ประเทศควบคู่การรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยปีที่ผ่านมา 2564 พวกเราชาว ทส. ได้ต่อยอดการทำงานของปี 2563 อย่างไม่หยุดนิ่ง แม้จะอยู่ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะ การดำเนินงานโครงการในพระองค์และโครงการพระราชดำริ ในการแก้ไขปัญหาช้างป่า ในพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ภายใต้ “มูลนิธิพัชรสุธาคชานุรักษ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์” และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติ จังหวัดกาญจนบุรี ในพื้นที่บ้านไล่โว่และบ้านสะละวะ ภายใต้ “มูลนิธิภูบดินทร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์” และยังมีผลงานเด่น ที่สำเร็จลุล่วงในปี 2564 ดังต่อไปนี้ครับ 1) จัดที่ดินทำกินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติให้กับชุมชน ภายใต้ โครงการ คทช. ไปแล้วกว่า 3.6 ล้านไร่ 2) เร่งแก้ไขปัญหาส่วนราชการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ก่อนได้รับอนุญาต จำนวน 101,354 คำขอ 3) ดำเนินการปลูกป่าเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู ป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน และป้องกันไฟป่า จำนวน 407,655 ไร่ 4) ป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 สามารถลดจุดความร้อนภายในประเทศ ได้กว่าร้อยละ 52. 5) ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร เพชรบุรี นครศรีธรรมราช จันทบุรี และตราด ด้วยมาตรการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น รวมระยะทางกว่า 11.1 กิโลเมตร 6) จัดทำปะการังเทียมจากขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม 7 ขาแท่น 7) สำรวจ “ถ้ำ” ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ปลอดภัย จำนวน 15 ถ้ำ😎 อนุรักษ์โครงกระดูก “วาฬอำแพง” และ การขอรับรองสถิติโลก“ไม้ตาก” ไม้กลายเป็นหินที่ยาวที่สุดในโลก 9) ประกาศจัดตั้ง “อุทยานธรณีชัยภูมิ” จ.ชัยภูมิ เป็นอุทยานธรณีแห่งที่ 7 ของประเทศ 10) ผลักดันให้“กลุ่มป่าแก่งกระจาน” ขึ้นทะเบียนเป็น “มรดกโลกทางธรรมชาติ”เป็นแห่งที่ 3 ของประเทศ 11) ผลักดัน “ดอยเชียงดาว” ได้รับการรับรองเป็น “พื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่ของโลก” เป็นแห่งที่ 5 ของประเทศ 12) พัฒนาแหล่งน้ำผิวดิน และระบบกระจายน้ำกว่า 136 ล้านลูกบาศก์เมตร ครอบคลุมพื้นที่ 203,137 ไร่ ชุมชนได้ประโยชน์กว่า 52,819 ครัวเรือน 13) พัฒนาแหล่งน้ำบาดาล สามารถเพิ่มปริมาณน้ำได้ 72 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ช่วยเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรม 77,480 ไร่ ประชาชนได้ประโยชน์กว่า 122,919 ครัวเรือน 14) เร่งให้ความรู้ในการแยกทิ้งขยะติดเชื้ออย่างถูกต้อง 15) รณรงค์ “งดรับ” พลาสติกใช้ครั้งเดียว จากบริการส่งอาหาร 16) ส่งเสริมการคัดแยกขยะเพื่อส่งกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ภายใต้โครงการ “เปลี่ยนพลาสติกเป็นบุญ เมื่อคุณหมุนเวียน” ที่มีจุดรับคืนพลาสติกกว่า 450 จุด และรวบรวมขยะพลาสติกสะอาดได้แล้ว 83,357 กิโลกรัม 17) นำเทคโนโลยี และนวัตกรรมสมัยใหม่เข้ามาเสริมศักยภาพในการทำงาน เช่น การนำระบบ E-project tacking (อี-โปรเจ็ค แทร็กกิ้ง) ติดตามผลการดำเนินงานในระดับพื้นที่ การใช้อากาศยานไร้คนขับเสริมภารกิจการเฝ้าระวังป้องกันไฟป่า การบุกรุกทำลายพื้นที่ป่า และการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ เป็นต้น สำหรับก้าวต่อไป ในปี 2565 จะเป็นปีแห่งการปรับตัวและฟื้นฟู เพื่อตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของพี่น้องประชาชน การใช้ทรัพยากรจะต้องเกิดความคุ้มค่าสูงสุด เพื่อสร้างเศรษฐกิจที่มั่นคงให้กับชุมชน เดินหน้า 2 เป้าหมายหลัก ได้แก่ เป้าหมายที่ 1 การสร้างเศรษฐกิจครัวเรือน สังคมมีสุข ชุมชนเข้มแข็ง ประกอบด้วย การจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนเพิ่มเติม ภายใต้โครงการ คทช. และพัฒนาเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน รวมทั้งการจัดที่ดินทำกินและอยู่อาศัยในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ การจัดตั้งป่าชุมชน การปลูกป่าเพื่อการอนุรักษ์ฟื้นฟู ป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน และการป้องกันไฟป่า รวมทั้งเป็นแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจกให้กับประเทศไทย เพื่อการแบ่งปันคาร์บอนเครดิต ตลอดจนยกระดับมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เพื่อเสริมรายได้ให้กับชุมชนรอบพื้นที่ พร้อมรองรับนักท่องเที่ยวหลังการเปิดประเทศ การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ตามมาตรการ ขาว-เขียว-เทา การจัดแบ่งระบบกลุ่มหาด การสร้างความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำรวจและจัดทำแผนการจัดการสถานการณ์ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ อปท. ที่มีสถานการณ์รุนแรง และประสานให้มีเตาเผาขยะติดเชื้อครอบคลุมทุกจังหวัด การพัฒนาแหล่งน้ำและระบบกระจายน้ำผิวดินและการพัฒนาขุดเจาะบ่อบาดาลในพื้นที่ คทช. พื้นที่โครงการในพระองค์และโครงการพระราชดำริ และพื้นที่แล้งซ้ำซาก และเป้าหมายที่ 2 การมุ่งสู่เศรษฐกิจแบบใหม่ (BCG Model) และสังคมคาร์บอนต่ำ ประกอบด้วย การส่งเสริมเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) การส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) การส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด สนับสนุนการดำเนินงานตามแผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย การจัดทำ Environment Map ส่งเสริมการประเมินมูลค่าทรัพยากรและการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า ทั้งการจัดทำระบบบัญชีเศรษฐกิจทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนจัดทำผังภูมินิเวศระดับภาคเพื่อการพัฒนาการใช้ประโยชน์พื้นที่รองรับและลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและสังคมคาร์บอนต่ำให้ครบทุกภูมิภาค ภายในปี 2570 รวมทั้ง การพัฒนาระบบ Digital Platform และการนำนวัตกรรมมาใช้ในการบริหารจัดการครับ

ที่มา : ข่าวประชาสัมพันธ์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช – 5 ต.ค.2564

ข้อมูล : TOP Varawut – ท็อป วราวุธ ศิลปอาชา

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี)ได้ประกาศใช้แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ทั้งนี้ ท่านมั่นใจได้ว่าเราจะดูแลรักษาความปลอดภัยของข้อมูลของท่านเป็นอย่างดี นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save