22 ก.ย.2562 นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) ดำเนินโครงการร่วมกับทีมสัตวแพทย์และเจ้าหน้าที่ร่วมกันดำเนินกิจกรรม การช่วยเหลือสัตว์เลี้ยงจากเหตุการณ์อุทกภัย จังหวัดอุบลราชธานี
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 อุบลราชธานี รายงานการช่วยเหลือสัตว์เลี้ยง จากเหตุการณ์อุทกภัย ในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี
รายงานผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือสัตว์เลี้ยงจากเหตุการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยแบ่งการช่วยเหลือสัตว์เลี้ยง ออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้
1. ช่วยเหลือโดยการให้อาหาร เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัยอยู่แล้ว จำนวน 101 ตัว
– สุนัข จำนวน 93 ตัว
– แมว จำนวน 8 ตัว
2. ช่วยเหลือ โดยการเข้าพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยและเคลื่อนย้ายสัตว์เลี้ยวมาไว้ในจุดอพยพที่ปลอดภัย จำนวน 60 ตัว
– สุนัข จำนวน 36 ตัว
– แมว จำนวน 20 ตัว
– แพะ จำนวน 4 ตัว
3. ช่วยเหลือ โดยการเข้าไปในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย และเคลื่อนย้านสัตว์มาอนุบาลไว้ที่ศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัย สังกัด ทส. ตั้งอยู่ที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) จำนวน 61 ตัว
– สุนัข จำนวน 51 ตัว
– แมว จำนวน 8 ตัว
– ไก่ จำนวน 2 ตัว
รวมสัตว์เลี้ยงที่ศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจฯ ได้ช่วยเหลือมา จำนวนทั้งสิ้น 222 ตัว
โดยในวันที่ 22 ก.ย. 2562 สัตว์เลี้ยงที่นำมาอนุบาลไว้ที่ศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย สังกัด สบอ.9 ณ สบอ.9 จะดำเนินการทำหมัน มีทั้งสิ้น 59 ตัว ดังนี้
– สุนัข 51 ตัว
– แมว 8 ตัว
โดยการดำเนินการทำหมันสัตว์ได้สัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยในการดำเนินการ ดังนี้
– สัตวแพทย์อาสา จำนวน 19 คน
– สัตวแพทย์ สบอ. 9 จำนวน 2 คน
– สัตวแพทย์ สวนสัตว์ จำนวน 2 คน
– สัตวบาล สบอ 9 จำนวน 2 คน
– อาสาสมัครผู้ช่วยสัตวแพทย์ จำนวน 9 คน
– จนท. กอส. เป็นผู้ช่วยในการดำเนินการ จำนวน 35 คน
รวมจำนวน 69 คน
และในการดำเนินการครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก
– องค์กรทำดี
– Thai AGA
– มูลนิธิ The Voice
– ช่อง one
– กรมปศุสัตว์
โดยการผ่าตัดทำหมันอยู่ในการควบคุมดูแลของ
1. นสพ.ฐิติวงศ์ ภูโอบ (หมอตั๋น โทร 090-2361212) สัตวแพทย์อาสา
2. น.ส.บงกชมาศ พิมพ์สิน นายสัตวแพทย์ชำนาญการ สัตวแพทย์ สบอ9
3. น.ส. คชรินทร์ ราชสินธุ์ นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ (หมอแจน 086-3336681) สัตวแพทย์ สบอ 9
ขั้นตอนการดำเนินการผ่าตัดทำหมัน เป็นดังนี้
1. จุดคัดกรอง คัดแยก สัตว์ ซึ่งได้แบ่งสัตว์เลี้ยงออกเป็น 4 กลุ่ม ตามพื้นที่ที่ได้ไปช่วยเหลือมา ดังนี้
กลุ่ม 1 : จากบริเวณท่าทราย บ้านท่าเตาไห ต.ปทุม อ.เมือง จ.อุบลฯ จำนวน 28 ตัว
– สุนัข 19 ตัว (เพศเมีย 11 ตัว เพศผู้ 8 ตัว)
– แมว 7 ตัว (เพศเมีย 4 ตัว เพศผู้ 3 ตัว)
กลุ่ม 2 : จากบริเวณบ้านนาคำ และบ้านหาดสวนยา อ.วาริน จ.อุบลฯ จำนวน 11 ตัว
– สุนัข 11 ตัว (เพศเมีย 8 ตัว เพศผู้ 3 ตัว)
กลุ่ม 3 : วัดเสนาวงศ์ บ้านท่าบ้งมั่ง อ.วาริน จ.อุบลฯ จำนวน 17 ตัว
– สุนัข 16 ตัว (เพศเมีย 5 ตัว เพศผู้ 8 ตัว ลูกสุนัข 3 ตัว )
กลุ่ม 4 : รับจากคุณติ๊ก จำนวน 5 ตัว
– สุนัข 5 ตัว (เพศเมีย 3 ตัว เพศผู้ 2 ตัว)
และตรวจเช็คสุขภาพว่าสามารถทำหมันได้หรือไหม และเคลื่อนย้ายไปยังจุดเตรียมทำหมัน โดยมีการติด number
2. จุดให้ยาสลบ โดยมัดปากสัตว์เลี้ยงเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นอันตรายแก่ จนท. ผู้ดำเนินการ และนำสัตว์ออกจากกรง ไปยังจุดให้ยา โดยให้ยา ดังนี้
– ยาสลบ
– ยาแก้ปวด
– ยาฆ่าเชื้อ
– และต่อท่อน้ำเกลือ เมื่อสัตว์สลบ โกรนขนบริเวณที่จะผ่าตัด และทำความสะอาดย้ายไปยังจุดผ่าตัด
3. จุดผ่าตัด โดยเริ่มจากการต่อท่อ endotrachel tube เป็นท่อที่เอาไว้ต่อกับออกซิเจนเพื่อช่วยชีวิตสัตว์ ในกรณีที่สัตว์หยุดหายใจกระทันหัน และดำเนินการผ่าตัด โดยเพศผู้จะตัดท่อนำส่งอสุจิ และเพศเมียจะตัดรังไข่ เมื่อแล้วเสร็จ ทำความสะอาดแผล? และปิดแผล แล้วเคลื่อนย้ายไปยังจุด recover
4. จุด Recovery คือ จุดทำให้ฟื้น โดยใช้ไดร์เป่าผม เป่่าไปตามร่่างกายสัตว์ เพื่อให้อุณหภูมิในร่างกายของสัตว์สูงขึ้น และใส่ที่ครอบปาก เพืื่อไม่ให้สัตว์เลียแผลตัวเอง และเคลื่อนย้ายกลับสู่กรง
โดยระยะเวลาในการผ่าตัดทำหมัน จนเคลื่อนย้ายมายังจุด recovery เฉลี่ย 30 นาที/ ตัว
สัตว์ที่ดำเนินการผ่าตัดแล้ว จะต้องอยู่ดูอาการในความดูแลของสัตวแพทย์ผู้ผ่าตัด (โดยจะมีผู้ทำรายชื่อสัตวแพทย์ผู้ผ่าตัด กับ.number.ของสุนัขไว้) โดยจะให้อยู่ดูอาการอย่างน้อย 15 วัน ณ ศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบอทุกภัย บริเวณอนุบาลสัตว์ชั่วคราว ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สบอ.9
หากไม่มีอาการใดแทรกซ้อนจะดำเนินการเคลื่อนย้ายกลับพื้นที่ที่ได้ไปช่วยเหลือมา แต่หากมีการผิดปกติ สัตวแพทย์ผู้ผ่าตัดจะดูอาการต่อเนื่องไปอีก 15 วัน แล้วเคลื่อนย้ายกลับสู่ที่ที่ได้ช่วยเหลือมา
การดำเนินการผ่าตัดทำหมันสัตว์เลี้ยงทั้ง 59 ตัว เป็นไปด้วยความเรียบร้อย