ankara escort
Select Page

เห่าช้าง …ไม่ใช่งู! แต่เป็นสัตว์วงศ์เหี้ย บางคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นงู เพราะชื่อคล้ายงูเห่า แต่ก็ไม่ควรเข้าใกล้นะคะ เพราะหากถูกกัด เชื้อโรค หรือแบคทีเรียที่อยู่ในน้ำลายก็จะทำให้เกิดการติดเชื้อได้

เห่าช้าง …ไม่ใช่งู !!! แต่เป็นสัตว์วงศ์เหี้ย                เห่าช้าง Varanus rudicollis สัตว์เลื้อยคลาน 4 ขา ที่อยู่วงศ์เหี้ย บางคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นงู เพราะชื่อคล้ายงูเห่า มีขนาดเล็กกว่าเหี้ย สีดำเข้ม มีลายขวางจางๆ ที่ลำตัว  เกล็ดบนคอเป็นแหลมๆ คล้ายหนามทุเรียน อาศัยอยู่ในป่าชื้นรกทึบ และมีความอุดมสมบูรณ์ หากินบนพื้นดิน ปีนต้นไม้เก่ง ว่องไวทั้งบนบกและในน้ำ มีความดุร้ายกว่าเหี้ย เมื่อเจอศัตรูจะขู่เสียงฟ่อ ๆ คล้ายงูเห่า เป็นที่รู้กันดีว่าสัตว์ตระกูลนี้กินเนื้อเป็นอาหาร และเห่าช้างก็นิยมกินสัตว์ปีกอย่างพวก ไก่ เป็ด หรือสัตว์เลี้ยวลูกด้วยนมขนาดเล็ก บางครั้งก็กิน ปลา กบ เขียด และซากต่าง ๆ เป็นต้น 
                ถึงมันจะได้ชื่อว่า เห่าช้าง แต่ก็ไม่ได้เป็นสัตว์มีพิษ อย่างที่ใคร ๆ คิดกัน แต่ถ้าเป็นเชื้อโรค หรือแบคทีเรียที่อยู่ในน้ำลายก็ไม่แน่ ถ้าถูกกัดอาจจะติดเชื้อในแผลขึ้นมาคนเลยคิดว่ามันมีพิษ พอเจอก็ทำร้าย หรือเผลอฆ่าโดยไม่รู้ตัว  ความจริงแล้วเห่าช้างเป็นสัตว์ที่ขี้อายและขี้กลัวจึงไม่ค่อยมีคนพบเห็นหรือพบเห็นน้อยมาก และยังมีการศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ชนิดนี้น้อยมาก ข้อมูลที่มีเลยน้อยตามไปด้วย 
                คมศร เลาห์ประเสริฐ กล่าวว่าจากข้อมูลการศึกษาทั้งหมดและอาศัยเกณฑ์การจัดสถานภาพของ IUCN สามารถประเมินได้ว่า เห่าช้างควรจัดอยู่ในสภาวะเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ประเทศไทยจัดให้เห่าช้างเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535  ถ้าใครพบเห็นหรือบังเอิญเจอ อย่าทำร้ายมันกันเลยนะคะ แค่ไล่มันไปก็พอหรือไม่ก็แจ้งเจ้าหน้าที่ให้ไปช่วยจับแล้วนำคืนสู่ธรรมชาติเพราะประชากรเห่าช้างเริ่มลดน้อยลงเต็มที ขนาดแอดยังไม่เคยเห็นตัวจริงของมันเลยเพราะฉะนั้นอย่าปล่อยให้มันหายไปจากธรรมชาติ เลยค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ECOLOGY ASIA   https://www.ecologyasia.com/…/rough-necked-monitor.htm… , ความหลากหลายของชนิด การแพร่กระจายและความแตกต่างทางสัณฐานวิทยาของสัตว์ในวงศ์ตะกวดในภาคใต้ของประเทศไทย / คมศร เลาห์ประเสริฐhttps://www.car.chula.ac.th/display7.php?bib=b1557630&fbclid=IwAR0vtsj3iTlxoVS-UuidP4D-iUsOVMSx0Cmw4C_sd_uSh4J4Phwibuz2CVY , องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยhttps://www.zoothailand.org/animal_view.php?detail_id=195&c_id= PHOTO : Arnuparp yhamdee

ข่าวประชาสัมพันธ์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช – 21 ก.พ.2565

ข้อมูล  :  สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานฯ

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี)ได้ประกาศใช้แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ทั้งนี้ ท่านมั่นใจได้ว่าเราจะดูแลรักษาความปลอดภัยของข้อมูลของท่านเป็นอย่างดี นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save